รู้จัก “โรคตึกเป็นพิษ” ภัยอันตรายของชาวออฟฟิศ

9
Feb, 23
1522
0 Like

      ช่วงนี้ค่า PM 2.5 ในหลายพื้นที่กลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งหลาย ๆ คนคงทราบกันดีว่า PM 2.5 เป็นต้นเหตุของโรคร้ายหลาย ๆ โรค ไม่ว่าจะโรคปอด โรคผิวหนัง โรคเยื่อบุกตาอักเสบ แต่ทุกคนรู้ไหมคะว่า เจ้าฝุ่น PM 2.5 ยังก่อให้เกิด “โรคตึกเป็นพิษ” อีกด้วยนะ อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจเริ่มสงสัยว่า โรคตึกเป็นพิษคืออะไร? ไม่เห็นเคยได้ยินเลย จะเหมือนอาหารเป็นพิษหรือเปล่า? หายห่วง! วันนี้แอดมินได้รวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคตึกเป็นพิษ ที่จะทำให้ทุกคนรู้จักและรู้วิธีรับมือกับเจ้าโรคนี้ จะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย!



“โรคตึกเป็นพิษ” คืออะไร?

โรคตึกเป็นพิษ หรือ Sick Building Syndrome (SBS) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเราอยู่ในอาคารหรือที่ปิดเป็นเวลานาน ๆ โดยอาจเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น วัสดุของอาคาร ค่าฝุ่นสูง สารเคมีจากสีหรือน้ำยาทำความสะอาด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบหายใจ ระบบประสาท และผิวหนังของเราได้


เช็กอาการ “โรคตึกเป็นพิษ”

  - เจ็บคอ
  - แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
  - มีอาการคล้ายกับภูมิแพ้ เช่น จาม คัดจมูก ระคายเคืองตา
  - แสบร้อนในจมูก
  - ผิวหนังแห้งคัน เป็นผื่น
  - เป็นไข้ มีอาการหนาวสั่น
  - เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน
  - เหนื่อยล้า อ่อนเพลียง่าย
  - ปวดตามเนื้อตัว
  - ไม่มีสมาธิ ขี้ลืมกว่าปกติ
  - หงุดหงิดง่าย
จะเห็นได้ว่าโรคนี้มีอาการคล้ายกับไข้หวัดทั่ว ๆ ไป ทำให้ยากต่อการวินิจฉัย อย่างไรก็ตามเพื่อน ๆ สามารถสังเกตตัวเองว่าอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเฉพาะตอนที่อยู่ในอาคารหรือไม่ ถ้าใช่ ก็อาจเข้าข่ายป่วยเป็นโรคตึกเป็นพิษก็ได้นะ


ภาวะแทรกซ้อน

โรคตึกเป็นพิษ อาจส่งผลให้โรคที่เป็นอยู่แล้วกำเริบบ่อยและรุนแรงขึ้น เช่น โรคหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอื่น ๆ ที่เมื่อกำเริบแล้วอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว
โรคตึกเป็นพิษไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานของเราอีกด้วย เพราะอาจทำให้คุณภาพการทำงานแย่ลง ต้องหยุดงานบ่อย อีกทั้งยังทำให้บุคลิกของเราเปลี่ยนไป อาจกลายเป็นคนขี้โมโห หรือขี้ลืม


สาเหตุ

สำหรับสาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่นักวิจัยคาดว่าเกิดจากหลายปัจจัย ดังนี้
  - อากาศไม่ถ่ายเท
  - มลพิษจากบริเวณใกล้เคียง เช่น ฝุ่นละออง ควันรถยนต์ ควันบุหรี่
  - มลพิษ และสารเคมีภายในอาคาร ได้แก่
     1.สารเคมีระเหยง่าย (VOCs) จากน้ำยาทำความสะอาด สีทาอาคาร กาว และเครื่องพิมพ์ (Printer)
     2.สารฟอร์มัลดีไฮด์ในพื้นหรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้
     3.รังสีแม่เหล็กจากคอมพิวเตอร์ หรือไมโครเวฟ
  - เชื้อรา แบคทีเรียจากมูลสัตว์ เช่น จิ้งจก หนู หรือจากสิ่งสกปรกอื่น ๆ
  - ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่
     1.ความเครียดจากการทำงาน
     2.สภาพแวดล้อมในการทำงานที่วุ่นวาย
     3.การป่วยโรควิตกกังวล หรือซึมเศร้า
     4.ความชื้นในอาคารสูงหรือต่ำเกินไป


วิธีเปลี่ยนตึกเป็นพิษให้กลายเป็นมิตรกับเรา

เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ แต่หากอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูง ไม่สามารถเปิดระบายอากาศได้ ให้นำเครื่องกรองอากาศมาตั้งไว้ในอาคารแทน หรือจะปลูกพืชลดมลพิษทางอากาศ อย่างต้นพลูด่าง, ต้นว่านหางจระเข้, ต้นฟิโลโบหัวใจ หรือต้นวาสนา ด้วยก็ได้
  - หมั่นดูดฝุ่นทำความสะอาดอาคารเป็นประจำ
  - หมั่นพักสายตาจากคอมพิวเตอร์ โดยพักทุก ๆ 20 -30 นาที
  - เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในอาคารที่มีปริมาณสารเคมีระเหยง่ายน้อย (Low -VOC products)


      เพื่อน ๆ คนไหนที่ต้องทำงานอยู่ในอาคารเป็นเวลานาน ๆ ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพ หมั่นสังเกตและเฝ้าระวังโรคตึกเป็นพิษ เพื่อที่จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที พร้อมทั้งให้ประกันภัยสุขภาพเฉพาะโรค “โรคปอดพลัส”ช่วยดูแลเพื่อน ๆ ให้อุ่นใจกับทุกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น



ติดตามผลิตภัณฑ์และบริการ
ของเมืองไทยประกันภัยเพิ่มเติมได้ที่
คลิก!!
เมืองไทยประกันภัย โทร.1484 หรือติดตามข้อมูล
ผ่านไลน์ @mtifriend
คลิก!!


#เมืองไทยประกันภัย #ยิ้มได้เมื่อภัยมา

#ประกันอุบัติเหตุ#ประกันสำหรับเด็ก

#โรคปอดพลัสไข้เลือดออก #ประกันสุขภาพเฉพาะโรค



ที่มา:
1. Sick Building Syndrome

2. Indoor Air Facts No. 4 (revised) Sick Building Syndrome

3. The sick building syndrome

4. What is Sick Building Syndrome, and How Can You Prevent It?

5. “โรคแพ้ตึก” คืออะไร?

Inspired by


"เพราะแรงบันดาลใจ คือ ชีวิต"
เพื่อแบ่งปันความรู้สึกของคุณ ผ่านตัวอักษรเพียง เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก