Document

ไขข้อสงสัยการเคลมสินไหมประกันภัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

เมืองไทยประกันภัย เมืองไทยประกันภัย ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามเงื่อนไขและข้อตกลงคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัย


โดยมีเงื่อนไขความคุ้มครองดังต่อไปนี้

กรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองแบบเหมาจ่าย (เจอ จ่าย จบ)

ผู้เอาประกันภัยได้รับการตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยวิธีการ RT-PCR ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย และพ้นกำหนดระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 14 วัน บริษัทฯ จ่ายเงินผลประโยชน์ให้ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย และข้อตกลงความคุ้มครองนี้จะสิ้นสุดลงทันที


กรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD) และ/หรือ ผู้ป่วยใน (IPD) จ่ายตามจริง

ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย และพ้นกำหนดระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 14 วัน สำหรับประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 30 วัน สำหรับประกันภัยสุขภาพ (เป็นไปตามความคุ้มครองที่ซื้อไว้) หากผู้เอาประกันภัยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งตรวจพบเชื้อฯ ด้วยวิธี RT-PCR เป็นผู้ป่วยยืนยัน บริษัทฯ จะจ่ายค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ ตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย สำหรับ

  • 1. การรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน (ตามความคุ้มครองที่ซื้อไว้) การรักษาพยาบาลอ้างอิงแนวทางเวชปฏิบัติปัจจุบันที่ออกโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องค่าทดแทนตามความคุ้มครองของสัญญาประกันภัย
  • 2. การดูแลรักษาแบบ HI, CI, Hotel Isolation อนุโลมจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามคำสั่งนายทะเบียน (คปภ.) ดังนี้
    •    2.1 คำสั่งที่ 44/2564 และ 56/2564 ซึ่งมีผลสำหรับผู้เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 -31 ตุลาคม 2564 หรือ
    •    2.2 คำสั่งที่ 6/2565 ซึ่งมีผลสำหรับผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 -16 พฤษภาคม 2565 ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาแบบ HI, CI, Hotel Isolation ได้แก่

กรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองค่าชดเชยรายวันระหว่างรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล

กรณีมีสถานพยาบาลรองรับ  ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย และพ้นกำหนดระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 14 วัน สำหรับประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 30 วัน สำหรับประกันภัยสุขภาพ (เป็นไปตามความคุ้มครองที่ซื้อไว้) หากผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยวิธีการ RT-PCR เป็นผู้ป่วยยืนยัน และต้องเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเวชกรรม ซึ่งต้องเป็นไปตามความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ อ้างอิงตามแนวทางเวชปฏิบัติปัจจุบันที่ออกโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องค่าทดแทนตามความคุ้มครองของสัญญาประกันภัย บริษัทฯ จะจ่ายเงินชดเชยรายวันฯ ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุในตารางกรมธรรม์ประกันภัยนับจากวันแรกที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน รวมทั้งสิ้นไม่เกินจำนวนวันที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

กรณีรับการรักษาตัวแบบ HI และ CI ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย และพ้นกำหนดระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 14 วัน สำหรับประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 30 วัน สำหรับประกันภัยสุขภาพ (เป็นไปตามความคุ้มครองที่ซื้อไว้) หากผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยวิธีการ RT-PCR เป็นผู้ป่วยยืนยัน บริษัทฯ อนุโลมจ่ายค่าชดเชยรายวันฯ เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง สีแดง ซึ่งได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้รักษาว่ามีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาลแต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของคำสั่งนายทะเบียน (คปภ.) ดังนี้

  • 1.  คำสั่งที่ 44/2564 และ 56/2564 ซึ่งมีผลสำหรับผู้เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 -31 ตุลาคม 2564 หรือ
  • 2. คำสั่งที่ 6/2565 ซึ่งมีผลสำหรับผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 -16 พฤษภาคม 2565

บริษัทฯ จะจ่ายเงินชดเชยรายวันนับแต่วันที่แพทย์ผู้รักษาลงความเห็นว่ามีความจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในสูงสุดไม่เกิน 14 วัน


กรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองภาวะโคม่า (Coma) หรือเสียชีวิต

บริษัทฯ จะจ่ายเงินชดเชยรายวันนับแต่วันที่แพทย์ผู้รักษาลงความเห็นว่ามีความจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในสูงสุดไม่เกิน 14 วัน


หมายเหตุ
  • คำสั่งนายทะเบียนที่ 44/2564 และ 56/2564 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 ตุลาคม 2564 สำหรับการการดูแลรักษาแบบ HI และ 24 กรกฎาคม 2564 - 31 ตุลาคม 2564 สำหรับการการดูแลรักษาแบบ CI คำสั่งนายทะเบียนด่วน
  • คำสั่งนายทะเบียนที่ 46/2564 ใช้เอกสารการตรวจโควิดโดยวิธี RT-PCR แทนใบรายงานหรือรับรองจากแพทย์ จ่ายผลประโยชน์ประกันโควิด-19 แบบ (เจอ-จ่าย-จบ)
  • ความจำเป็นทางการแพทย์ และมาตรฐานทางการแพทย์ อ้างอิงตามประกาศแนวทางเวชปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับปัจจุบันปรับปรุงวันที่ 1 มีนาคม 2565) และที่เกี่ยวข้องวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 และฉบับปรับปรุงวันที่ 4 มกราคม 2565


  • คำถามเกี่ยวกับบริการ

    กรณีติดเชื้อโควิด-19 กรมธรรม์ให้คุ้มครองเฉพาะขณะอยู่ในประเทศไทยหรือไม่?

    กรมธรรม์ประกันภัยให้ความคุ้มครองทั่วโลก

    ค่ารักษาพยาบาลโรคโควิด-19 รวมค่ารักษาโรคประจำตัว หรือโรคร้ายแรงอื่นด้วยหรือไม่?

    ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคประจำตัว หรือโรคร้ายแรง หรือโรคอื่น ๆ และโรคที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย

    ค่ารักษาพยาบาลโรคโควิด-19 รวมค่ารักษาโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องจากโควิด-19 หรือไม่?

    บริษัทฯ จ่ายค่ารักษารวมค่ารักษาของโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องจากโรคโควิด-19 ด้วย โดยที่แพทย์ต้องให้ความเห็นว่าโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ปอดอักเสบ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือไตวาย เป็นต้น มีเหตุมาจากโรคโควิด-19

    แพทย์วินิจฉัยโรคเป็นอย่างอื่น เช่น ปอดอักเสบ ปอดบวม เป็นต้น แต่มีผลตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น Detectable (positive) ประกันภัยให้คุ้มครองหรือไม่?

    บริษัทฯ จะพิจารณาจากเอกสารทางการแพทย์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น การวินิจฉัยของแพทย์ ประวัติการรักษา รายการยาที่ใช้ในการรักษา ผลตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น Detectable (positive)

    การดูแลรักษาภายใต้การดูแลของสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับบริษัทฯ ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษา ได้หรือไม่?

    ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล กรณีรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล/สถานพยาบาล สำหรับประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก / ผู้ป่วยในของโรงพยาบาล / สถานพยาบาล สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพ โดยจะต้องเป็นการรักษากับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับทางบริษัทฯ และมีความพร้อมในการให้บริการแบบให้เครดิตค่ารักษา ทั้งนี้ต้องแจ้งให้บริษัทฯ รับทราบก่อน หรือระหว่างการรักษาตัวในวันแรก

    ภาวะโคม่า ต้องเป็นลักษณะอย่างไร?

    หมายถึง การสลบ หรือหมดความรู้สึกที่ได้รับการวินิจฉัยโดยอายุรแพทย์ หรือประสาทศัลยแพทย์ (Neurosurgeon) และตรวจพบลักษณะต่อไปนี้ครบทุกข้อ

    •    . ต้องอาศัยเครื่องช่วยชีวิตเพื่อพยุงชีพ
    •    . ไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างน้อย 96 ชั่วโมง
    •    . ได้รับการประเมินว่าสมองถูกทาลายอย่างถาวร มีผลทาให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจาวันอย่างหนึ่งอย่างใดอย่างถาวร ภายหลัง 30 วัน นับจากวันที่สลบหรือหมดความรู้สึก ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการสลบหรือหมดความรู้สึกที่มีสาเหตุโดยตรงจากการดื่มสุราหรือการใช้ยาในทางที่ผิด

    หากไม่ได้อยู่ในภาวะโคม่า แต่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 กะทันหันสามารถเคลมได้หรือไม่?

    ได้รับความคุ้มครองภายใต้หมวดความคุ้มครองภาวะโคม่าจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยต้องมีเอกสารทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ระบุการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

    เกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลคืออะไร ?

    เกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยโควิด-19 มีความจำเป็นทางการแพทย์ในการเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล ตามแนวทางเวชปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขปัจจุบัน และที่เกี่ยวข้องดังนี้


    ที่มา : แนวทางเวชปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงวันที่ 4 ม.ค. 2564

    • . มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป
    • . มีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 24 ชั่วโมง
    • . มีอัตราหายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาที ในผู้ใหญ่
    • . มีความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) น้อยกว่า 94%
    • . มีโรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
    • . สำหรับในเด็ก ที่มีอาการหายใจลำบาก ซึม ดื่มนมหรือรับประทานอาหารน้อยลง

    ที่มา : แนวทางเวชปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงวันที่ 1 มีนาคม 2565

    • . อายุ > 60 ปี
    • . โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
    • . โรคไตเรื้อรัง (CKD)
    • . ตับแข็ง
    • . โรคหลอดเลือดสมอง
    • . เบาหวานควบคุมไม่ได้
    • . ภาวะอ้วน (นน. > 90 กก. หรือ BMI ≥ 30 กก./ตร.ม)
    • . ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำและ lymphocyte < 1,000 เซลล์/ลบ.มม.
    • . ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้นตามดุลยพินิจของแพทย์

    การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) คืออะไร?

    การดูแลรักษาแบบ Home Isolation (HI) หมายความว่า การให้บริการสาธารณสุข ของหน่วยบริการ กรณีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และแพทย์ผู้ดูแลรักษาของหน่วยบริการพิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้ผู้ป่วยรายนั้นสามารถแยกกักตัวในที่พักได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย โดยได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยและเจ้าของสถานที่ รวมถึงกรณีที่ผู้ป่วยรักษาในหน่วยบริการ และกลับมาแยกกักตัวในที่พักต่อจนครบกำหนด ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

    การดูแลรักษาแบบ Community Isolation (CI) หมายถึง การให้บริการสาธารณสุข ของหน่วยบริการ กรณีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และแพทย์ผู้ดูแลรักษาของหน่วยบริการพิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้ผู้ป่วยรายนั้นสามารถแยกกักตัวในชุมชนได้ ทั้งผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือกลับมาดูแลรักษาต่อจากโรงพยาบาลจนครบกำหนด โดยการจัดให้มีพื้นที่เอกเทศในชุมชนสำหรับแยกกักตัวผู้ติดเชื้อ โดยได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยและเจ้าของสถานที่ ในการจัดเตรียมสถานที่เพื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

    การจัดตั้งเป็นไปตามแนวทางของกรมอนามัย

    เกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation (HI) คืออะไร?

    เกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation อาจปรับได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและด้านการควบคุมโรคประกอบกัน

    • 1.เป็นผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ
    • 2.มีอายุน้อยกว่า 75 ปี
    • 3.มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อาจมีโรคร่วมที่รักษา และสามารถควบคุมได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
    • 4.ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
    ที่มา :กรมการแพทย์

    กรณีผู้เอาประภัยติดเชื้อโควิด 19 ที่ได้รับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) จะสามารถเคลมอะไรได้บ้าง ?

    กรณีลงทะเบียนเข้ารักษาตัวแบบ HI / CI /Hotel Isolation ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม –16 พฤษภาคม 2565 ผู้เอาประกันภัย สามารถเคลมประกันได้ในหมวดความคุ้มครองต่าง ๆ ตามที่ได้ซื้อความคุ้มครองไว้ ดังนี้

    • 1.   ความคุ้มครองแบบเหมาจ่าย “เจอ จ่าย จบ”
    • 2.   ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก ที่ได้จ่ายตามจริงตามคำสั่งแพทย์และความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทาง การแพทย์
    • 3.   เงินชดเชยรายวันฯ เฉพาะผู้ป่วยสีเหลือง หรือสีแดง (ตามเกณฑ์คำสั่งของ คปภ. ที่เกี่ยวข้อง) ที่มีความจำเป็นทาง การแพทย์ต้องรักษาตัวในสถานพยาบาล แต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ
    • 4.   เงินช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นเหตุให้ญาติที่อยู่ด้วยต้องถูกกักตัว

    โดยเงื่อนไขเป็นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย และคำสั่งนายทะเบียน (คปภ.) ที่ 44/2564, 56/2564 และ 6/2565 และประกาศแนวทางเวชปฏิบัติของกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับวันที่ 2 พ.ย. 2564 ฉบับปรับปรุงวันที่ 4 ม.ค. 2565 และวันที่ 1 มีนาคม 2565 และฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีผลบังคับก่อนหน้านี้หรือหลังจากที่กล่าวมา

    “ความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์” ตามความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยมีความหมายอย่างไร ?

    ในกรมธรรม์ประกันภัยได้กำหนดคำจำกัดความของคำว่า “ความจำเป็นทางการแพทย์” หมายถึง การบริการทางการแพทย์ต่างๆ ที่มีเงื่อนไขดังนี้ครบทุกข้อ

    • 1.   ต้องสอดคล้องกับการวินิจฉัยโรค และการรักษาตามภาวการณ์ การบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยของผู้รับบริการ
    • 2.   ต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อย่างชัดเจนตามมาตรฐานเวชปฏิบัติปัจจุบัน (CPG)
    • 3.   ต้องมิใช่เพื่อความสะดวกของผู้รับบริการ หรือของครอบครัวผู้รับบริการ หรือของผู้ให้บริการรักษาพยาบาลเพียง ฝ่ายเดียว และ
    • 4.   ต้องเป็นการบริการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม ตามความจำเป็นของภาวการณ์บาดเจ็บหรือการ เจ็บป่วยของผู้รับบริการนั้น

    • มาตรฐานทางการแพทย์ หมายถึง หลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ที่เป็นสากลและนำมาซึ่งแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยตามความจำเป็นทางการแพทย์และสอดคล้องกับข้อสรุปจากประวัติการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วย

    ผู้ป่วยกรณีที่ 1 และ 2 (กลุ่มสีเขียว) ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel สามารถเคลมอะไรได้บ้าง ?

    ผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการน้อย ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีความเสี่ยงจากโรคประจำตัว ตามแนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาของกระทรวงสาธารณสุข คือ ให้การดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือรักษาแบบ Hi / CI / Hotel Isolation จะสามารถเคลมผลประโยชน์ได้ ดังนี้

    • 1.   ความคุ้มครองแบบเหมาจ่าย “เจอ จ่าย จบ”
    • 2.   ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก ที่ได้จ่ายตามจริงตามคำสั่งแพทย์และความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทาง การแพทย์
    • 3.   เงินช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นเหตุให้ญาติที่อยู่ด้วยต้องถูกกักตัว

    • โดยเงื่อนไขเป็นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย และประกาศแนวทางเวชปฏิบัติของกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับวันที่ 2 พ.ย. 2564 ฉบับปรับปรุงวันที่ 4 ม.ค. 2565 และวันที่ 1 มีนาคม 2565 และฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีผลบังคับก่อนหน้านี้หรือหลังจากที่กล่าวมา

    การเคลมผลประโยชน์ค่ารักษาแบบผู้ป่วยในและค่าชดเชยรายได้ระหว่างรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล มีเงื่อนไขเรื่อง “ผู้ป่วยใน” อย่างไร ?

    ในสัญญาประกันภัยมีคำจำกัดความของคำว่า “ผู้ป่วยใน” หมายถึง ผู้ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรม ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยใน โดยได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ตามข้อบ่งชี้ซึ่งเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ และในระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรักษา

    ผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และตั้งครรภ์ หากรักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในจะได้รับความ คุ้มครองค่ารักษาแบบผู้ป่วยใน และค่าชดเชยรายได้ระหว่างรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล หรือไม่ ?

    เคลมประกันได้ทั้ง 2 ผลประโยชน์ กรณีที่ซื้อความคุ้มครองไว้ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการมีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์จะวินิจฉัยมีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องรักษาตัวแบบผู้ป่วยในในโรงพยาบาล โดยที่ค่ารักษาและจำนวนวันรักษาตัวในโรงพยาบาลจะต้องเป็นความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์

    ผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรอเตียงของโรงพยาบาลอยู่ที่บ้าน หากเสียชีวิตระหว่างที่รอเตียง จะเคลมประกันอะไรได้บ้าง ?

    ผู้เอาประกันภัย สามารถเคลมประกันได้ตามผลประโยชน์ความคุ้มครองแบบเหมาจ่าย “เจอ จ่าย จบ” หรือ ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายวันฯ ผลประโยชน์ในภาวะโคม่า หรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย โดยจะต้องเป็นผู้ป่วยยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยวิธี RT-PCR


    ทั้งนี้ เงื่อนไขเป็นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย และคำสั่งนายทะเบียน (คปภ.) ที่ 44/2564, 56/2564 และ 6/2565 และประกาศแนวทางเวชปฏิบัติของกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับวันที่ 2 พ.ย. 2564 ฉบับปรับปรุงวันที่ 4 ม.ค. 2565 และวันที่ 1 มีนาคม 2565 และฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีผลบังคับก่อนหน้านี้หรือหลังจากที่กล่าวมา

    การดูแลรักษาแบบ Home Isolation (HI) หรือ Community Isolation (CI) ผู้เอาประกันภัยจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาเองหรือไม่ ?

    ผู้เอาประกันภัยต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วส่งเรื่องแจ้งเคลมกับทางบริษัทฯ ภายหลังการรักษาตัวเสร็จสิ้น หากได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (IPD) สำหรับโรงพยาบาลคู่สัญญาแบบ IPD ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ที่เป็นการรักษาตามความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ ความคุ้มครองเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ที่ซื้อไว้

    ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงค่ายาฟ้าทะลายโจร ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ซื้อเอง หรือไม่?

    เคลมไม่ได้ บริษัทฯ ให้ความคุ้มครองค่ายาฟ้าทะลายโจร ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามความจำเป็นทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคโควิด-19 โดยแพทย์ผู้ดูแลรักษาจากสถานพยาบาลเป็นผู้สั่งให้เท่านั้น

    ประกันภัยให้ความคุ้มครองผลประโยชน์กรณีตรวจพบเชื้อจากชุดตรวจ Antigen Test Kit ด้วยตนเองด้วยหรือไม่ ?

    ไม่คุ้มครอง

    กรณีดูแลรักษาแบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) เคลมค่ายาหรืออุปกรณ์ที่ซื้อเองได้หรือไม่?

    ไม่คุ้มครอง บริษัทจะคุ้มครองค่ายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีตามความจำเป็นทางการแพทย์ ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลรักษาเป็นผู้สั่งให้เท่านั้น

    ค่าใช้จ่ายใดบ้างที่ไม่จ่ายสำหรับการรักษาแบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI)?

    บริษัทฯ ไม่จ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติของการรักษาโรคโควิด-19 และไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาตัวแบบผู้ป่วยนอก ได้แก่

    • 1. ค่าห้องพัก ค่าอาหาร
    • 2. ค่าเวชภัณฑ์ยาที่ซื้อเอง ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลรักษาไม่ได้เป็นผู้สั่งให้ เช่น ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาแก้อักเสบ ยาแก้ท้องอืด ยาแก้เจ็บคอ ยาลดไข้
    • 3. ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลรักษาไม่ได้เป็นผู้สั่งให้ เช่น ถังออกซิเจน ค่า Antigen Test Kit (ATK) ที่ตรวจเอง ถุงมืออนามัย
    • 4. ค่ารถพยาบาลเพื่อความสะดวกของผู้ป่วย และไม่ได้เป็นไปตามที่แพทย์ผู้ดูแลรักษาเป็นผู้กำหนด เช่น ค่ารถพยาบาลไป/กลับบ้านเกิด
    • 5. ค่าของใช้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล เช่น ถุงขยะใส่ขยะติดเชื้อ น้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อ อุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค สำหรับร่างกายหรือของใช้ในที่พักหรือสถานที่พักอาศัย
    • 6. ค่าชุด PPE

    หากพบว่าติดเชื้อโควิด-19 และเคลมค่าสินไหม หมวด เจอ จ่าย จบ หลังจากรักษาจนหายดีแล้วไปแล้ว หลังจากนั้นพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำอีกครั้ง จะสามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้หรือไม่?

    หากพบว่าติดเชื้อหลังจากครั้งแรกที่รักษาหายแล้ว สามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้

    หากพบว่าติดเชื้อโควิด-19 และเคลมหมวดค่ารักษาพยาบาลไปแล้ว หลังจากทำการรักษาหาย และหลังจากนั้นพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำอีกครั้ง สามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้หรือไม่?

    หากพบว่าติดเชื้อหลังจากรักษาหายแล้ว สามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้ เช่น หมวดค่ารักษาพยาบาลตามวงเงินที่คงเหลือ และหมวดเงินชดเชยรายได้ที่คงเหลือ รวมถึงหมวดภาวะโคม่า

    ระหว่างการรอเตียงโดยพักอยู่ที่บ้านและรับการรักษาแบบ Home Isolation (HI) สามารถเคลมค่าชดเชยรายได้ย้อนหลังได้หรือไม่?

    ได้ แต่เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง หรือแดง ทั้งนี้เป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียน คปภ. ที่เกี่ยวข้อง เช่น คำสั่งที่ 44/2564, 56/2564, 6/2565 เป็นต้น โดยมีเงื่อนไขดังนี้

    • . ได้รับการดูแลรักษาแบบ HI ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 – 16 พฤษภาคม 2565 หรือ Hotel Isolation ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – 16 พฤษภาคม 2565
    • . มีใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยสถานพยาบาลที่ให้บริการ HI หรือ Hotel Isolation ซึ่งแพทย์ต้องวินิจฉัยว่ามีความจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาล แต่อยู่ระหว่างการรอเตียง
    • . มีหลักฐานการตรวจยืนยันติดเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR
    • . มีเงื่อนไขสุขภาพตามประกาศคำสั่งนายทะเบียน เช่น คำสั่งที่ 44/2564, 56/2564, 6/2565 เป็นต้น และเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง

    กรณีเรียกร้องค่าชดเชยรายได้ จากการรักษาแบบ Home Isolation (HI) หรือ Community Isolation (CI) ก่อนย้ายไปรักษาในสถานพยาบาล หรือ Hospitel ที่บริษัทฯ อนุมัติเคลมผ่าน รพ. ให้แล้ว ลูกค้าจะต้องส่งเรื่องเรียกร้องค่าชดเชยฯ อีกหรือไม่?

    ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งเคลมเรียกร้องค่าชดเชยรายได้ฯ ในช่วงการรักษาตัวแบบ HI หรือ CI พร้อมรายงานการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้ดูแลและประวัติการรักษาเพื่อยืนยันว่ามีความจำเป็นที่ต้องรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลแต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ ตามเกณฑ์คำสั่งของ คปภ. เช่น คำสั่งที่ 44/2564, 56/2564, 6/2565 เป็นต้น

    การอนุโลมคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายได้ฯ กรณีการดูแลรักษาแบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) เริ่มมีผลและสิ้นสุดเมื่อไหร่ ?

    ตามเกณฑ์คำสั่งนายทะเบียน (คปภ.) ที่เกี่ยวข้อง เช่น คำสั่งที่ 44/2564, 56/2564, 6/2565 เป็นต้น กำหนดไว้ดังนี้

    • กรณีเข้ารับการรักษาแบบ HI มีผลใช้บังคับสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 – 16 พฤษภาคม 2565
    • กรณีเข้ารับการรักษาแบบ CI มีผลใช้บังคับสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 – 16 พฤษภาคม 2565

    ค่ารักษาพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 ค่าทดแทนแบบเหมาจ่าย (เจอ จ่าย จบ) และค่าชดเชยรายได้ระหว่างรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลบริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ให้กับใคร?

    จ่ายผู้เอาประกันภัย

    กรณีภาวะโคม่าด้วยโรคโควิด-19 บริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ให้กับใคร?

    จ่ายผู้เอาประกันภัย

    กรณีการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 หรือเสียชีวิตจากภาวะโคม่าด้วยโรคโควิด-19 บริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ให้กับใคร?

    จ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์

    ใช้ระยะเวลากี่วันในการเคลมสินไหมทดแทน?

    บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายค่าทดแทนภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารและข้อมูลครบถ้วน โดยผู้เรียกร้องจะได้รับเงินค่าทดแทนโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่แนบมาพร้อมกับเอกสารแจ้งเคลม


    Update: 18 เมษายน 2565


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    LINE: @MTIFRIEND