Service question

สามารถยื่นบัตรกับโรงพยาบาลอะไรได้บ้าง

สามารถดูรายชื่อโรงพยาบาลได้จากเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อศุนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์หมายเลข 1484 

หากเข้ารับการรักษาแล้วสำรองจ่ายค่ารักษาก่อน การเบิกค่าสินไหม

กรอกแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมฯ  และแนบเอกสาร สำเนาบัตรประชาชน / ใบเสร็จรับเงิน (ต้นฉบับ) / ใบรับรองแพทย์ (ต้นฉบับ) /สำเนาเลขที่บัญชีธนาคารที่ต้องการให้โอนค่าสินไหม

เมื่อทำประกันภัยอุบัติเหตุ หรือประกันสุขภาพ มีระยะเวลารอคอยกี่วัน

สำหรับประกันภัยอุบัติเหตุ ไม่มีระยะเวลารอคอย หากกรมธรรม์เริ่มคุ้มครองแล้วเกิดอุบัติเหตุสามารถเคลมได้เลย ส่วนการประกันสุขภาพโดยปกติแล้วโรคทั่วไปมีระยะเวลารอคอย 30 วันนับจากวันเริ่มคุ้มครอง  ดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อศุนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์หมายเลข 1484 

นำรถไปซ่อมกับอู่ที่ไม่ได้รับงานซ่อมของบริษัทฯ ได้หรือไม่?

ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. นำรถไปประเมินราคากับอู่ที่ต้องการจัดซ่อม
2. นำใบเคลมและใบเสนอราคาติดต่อบริษัทฯ เพื่อตกลงราคาก่อนจัดซ่อม
*อาจต้องสำรองจ่ายค่าซ่อมไปก่อน แล้วนำเอกสารมาเบิกคืนจากบริษัทฯ

อู่/ศูนย์ รับงานของบริษัทมีที่ไหนบ้าง

บริษัทฯ มีอู่และศูนย์รับงานของบริษัทฯ ไว้ให้บริการท่าน โดยท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซด์ของบริษัท ดูรายละเอียดการประกันเพิ่มเติม หรือ Contact USสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ หมายเลข 1484

ยางรถยนต์เสียหายจากอุบัติเหตุ ประกันรับผิดชอบหรือไม่? อย่างไร?

ยางระเบิด ฉีกขาดเอง ไม่สามารถเคลมได้ เนื่องจากมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ กรมธรรม์ไม่คุ้มครอง รวมถึงการฉีกขาด หรือการระเบิด เว้นแต่กรณีมีความเสียหายเกิดขึ้นต่อส่วนอื่นของรถยนต์ในเวลาเดียวกัน และเนื่องจากยางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนที่มีการสึกหรอหรือเสื่อมสภาพจากการใช้งาน ดังนั้น การชดใช้จะมีการพิจารณาค่าเสื่อมสภาพของยางประกอบด้วย

เมื่อได้รับใบเคลมที่พนักงานเคลมออกให้ ต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร

ควรรีบนำรถเข้าจัดซ่อมที่ศูนย์บริการหรืออู่บริการภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ

รถยนต์มีความเสียหายก่อนทำประกัน (มีแผลเก่า) สามารถเคลมได้หรือไม่

หากมีการรับประกันในขณะที่รถยนต์มีแผลเก่าก่อนทำประกัน  กรมธรรม์จะไม่คุ้มครองแผลเก่านั้น   แต่ถ้าต้องการให้มีความคุ้มครองปกติทั้งหมด ลูกค้าต้องจัดซ่อมแผลเดิมให้เรียบร้อยก่อน แล้วแจ้งบริษัทฯทราบ

ขอคำแนะนำกรณีมีแต่ประกันภัย พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ
1. รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง
2. โรงพยาบาลสามารถรับมอบอำนาจจากผู้ประสบภัย เพื่อเบิกค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทฯ
3. การขอรับค่าเสียหาย ผู้ประสบภัยจะแจ้งขอรับจากบริษัทฯ เอง หรือจะมอบอำนาจให้สถานพยาบาล/โรงพยาบาลเป็นผู้รับแทนได้
4. ค่าเสียหายเบื้องต้น รับได้ภายใน 7 วันนับจากวันที่ร้องขอ (เอกสารถูกต้องและครบถ้วน)
5. ค่าเสียหายส่วนเกินเบื้องต้น รับได้ภายใน 15 วันนับจากวันที่ร้องขอ (เอกสารถูกต้องและครบถ้วน)
6. ผู้ประสบภัยจากรถที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายผิด จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

ต้องใช้เอกสารอะไรเบิกค่าสินไหมทดแทน และใช้เวลาเท่าไร ?

  1. 1. การพิจารณาและชดใช้สินไหมรถยนต์ กรณีจัดซ่อมรถยนต์กับศูนย์ หรืออู่ที่เป็นคู่สัญญากับบริษัท
    ให้ใช้เอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
    • 1.1กรณีรถยนต์ผู้เอาประกันภัย
      • 1.1.1 ใบรับรองความเสียหาย(ใบเคลม)
      • 1.1.2สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาเอกสารหลักฐานที่ทางราชการออกให้ของผู้ส่งมอบรถยนต์เข้าซ่อม
    • 1.2 กรณีรถยนต์คู่กรณี
      • 1.2.1ใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)
      • 1.2.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาเอกสารหลักฐานที่ทางราชการออกให้ของผู้ส่งมอบรถยนต์เข้าซ่อม
      • 1.2.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาใบอนุญาตขับขี่ หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) ของเจ้าของ หรือผู้มีสิทธิครอบครองรถยนต์คู่กรณี
      • 1.2.4 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถยนต์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
      • 1.2.5 สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ

    กรณีเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง รับเงินได้ภายใน 15 วัน

  2. 2. การพิจารณาและชดใช้สินไหมรถยนต์ กรณีจัดซ่อมรถยนต์กับศูนย์ หรืออู่ที่ไม่ใช่คู่สัญญากับบริษัท
    ให้ใช้เอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
    • 2.1 การประเมินความเสียหายก่อนซ่อม
      • กรณีรถยนต์ผู้เอาประกันภัย
        • 2.1.1 ใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)
        • 2.1.2 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถยนต์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
        • 2.1.3 ใบประเมินราคาซ่อม
        • 2.1.4ภาพถ่ายความเสียหายของรถยนต์ตามใบประเมินราคาค่าซ่อมที่เกิดจากอุบัติเหตุ
      • 2.1.2 กรณีรถยนต์คู่กรณี
        • 2.1.2.1 ใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)
        • 2.1.2.2 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถยนต์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
        • 2.1.2.3 ใบประเมินราคาซ่อม
        • 2.1.2.4 ภาพถ่ายความเสียหายของรถยนต์ตามใบประเมินราคาค่าซ่อมที่เกิดจากอุบัติเหตุ
        • 2.1.2.5 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ(กรณีเป็นนิติบุคคล) ของเจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถยนต์คู่กรณี
        • 2.1.2.6 สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ
    • 2.2 การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีรถซ่อมเสร็จแล้ว
      • 2.2.1 กรณีรถยนต์ผู้เอาประกันภัย
        • 2.2.1.1 ใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)
        • 2.2.1.2 ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษี
        • 2.2.1.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางในกรณีเป็นผู้เอาประกันภัย หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล
        • 2.2.1.4 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถยนต์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
        • 2.2.1.5 ภาพถ่ายรถยนต์ และชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์ระหว่างซ่อม และภายหลังจัดซ่อมเสร็จ
        • 2.2.1.6 หลักฐานการตรวจสภาพรถที่จัดซ่อมแล้วเสร็จ
      • 2.2.2 กรณีรถยนต์คู่กรณี
        • 2.2.2.1 ใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)
        • 2.2.2.2 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถยนต์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
        • 2.2.2.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ(กรณีเป็นนิติบุคคล) ของเจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถยนต์คู่กรณี
        • 2.2.2.4 สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ

    กรณีเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง รับเงินได้ภายใน 15 วัน

  3. 3. การพิจารณาและชดใช้สินไหมรถยนต์ กรณีรถยนต์เสียหายสิ้นเชิง (Total Loss)
    ให้ใช้เอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
    • 3.1 กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์
      • 3.1.1 บรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)
      • 3.1.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางในกรณีเป็นผู้เอาประกันภัยหรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ(กรณีเป็นนิติบุคคล)
      • 3.1.3 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถยนต์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
      • 3.1.4 หนังสือแสดงความประสงค์ขอโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ และรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
      • 3.1.5 คู่มือจดทะเบียนรถ
      • 3.1.6 สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
      • 3.1.7 สำเนาคำสั่งศาลที่แต่งตั้งการเป็นผู้จัดการมรดก (กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต)
    • 3.2 กรณีสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้รับประกันเป็นผู้รับผลประโยชน์
      • 3.2.1 ใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)
      • 3.2.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางในกรณีเป็นผู้เอาประกันภัยหรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
      • 3.2.3 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถยนต์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
      • 3.2.4 หนังสือแสดงความประสงค์ขอโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ และรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
      • 3.2.5 คู่มือจดทะเบียนรถ
      • 3.2.6 สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
      • 3.2.7 สำเนาคำสั่งศาลที่แต่งตั้งการเป็นผู้จัดการมรดก (กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต)
      • 3.2.8 เอกสารการเช่าหรือเช่าซื้อรถยนต์
      • 3.2.9 หนังสือสละสิทธิ์ในการรับค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัยรถยนต์

    กรณีเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง รับเงินได้ภายใน 15 วัน

  4. 4. การพิจารณาและชดใช้สินไหมรถยนต์ กรณีรถยนต์สูญหาย
    ให้ใช้เอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
    • 4.1 กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์
      • 4.1.1 ใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)
      • 4.1.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางในกรณีเป็นผู้เอาประกันภัยหรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ(กรณีเป็นนิติบุคคล)
      • 4.1.3 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถยนต์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
      • 4.1.4 หนังสือแสดงความประสงค์ขอโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ และรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
      • 4.1.5 คู่มือจดทะเบียนรถยนต์
      • 4.1.6 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคล)
      • 4.1.7 สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
      • 4.1.8 สำเนาคำสั่งศาลที่แต่งตั้งการเป็นผู้จัดการมรดก (กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต)
      • 4.1.9 เอกสารการยกเลิกใช้รถ
    • 4.2 กรณีสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้รับประกันเป็นผู้รับผลประโยชน์
      • 4.2.1 ใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)
      • 4.2.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางในกรณีเป็นผู้เอาประกันภัยหรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
      • 4.2.3 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถยนต์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
      • 4.2.4 หนังสือแสดงความประสงค์ขอโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ และรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
      • 4.2.5 คู่มือจดทะเบียนรถยนต์
      • 4.2.6 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคล)
      • 4.2.7 สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
      • 4.2.8 สำเนาคำสั่งศาลที่แต่งตั้งการเป็นผู้จัดการมรดก (กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต)
      • 4.2.9 เอกสารการยกเลิกใช้รถ
      • 4.2.10 เอกสารการเช่าหรือเช่าซื้อรถยนต์
      • 4.2.11 หนังสือสละสิทธิ์ในการรับค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัยรถยนต์

    กรณีเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง รับเงินได้ภายใน 15 วัน

  5. 5. การพิจารณาและชดใช้สินไหมรถยนต์ กรณีบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ
    ให้ใช้เอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
    • 5.1 สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
    • 5.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบอนุญาตขับขี่ หรือหนังสือเดินทางหรือหลักฐานอื่นที่รับรองตัวตนของผู้เอาประกันภัย
    • 5.3 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
    • 5.4 ใบรับรองแพทย์ และ/หรือประวัติการรักษาของแพทย์
    • 5.5 ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล หรือสำเนาใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่มีหลักฐานว่ายังไม่ได้รับชดใช้เต็มจำนวนตามใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลดังกล่าว

    กรณีเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง รับเงินได้ภายใน 15 สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
    กรณีเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง รับเงินได้ภายใน 7 วัน สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

  6. 6. การพิจารณาและชดใช้สินไหมรถยนต์ กรณีผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลภายนอกเสียชีวิต
    ให้ใช้เอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
    • 6.1 สำเนาใบมรณบัตร
    • 6.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต หรือหนังสือเดินทาง (กรณีผู้เสียชีวิต เป็นบุคคลต่างด้าว)
    • 6.3 เอกสารแสดงการเป็นทายาททุกคนของผู้เสียชีวิต ได้แก่ สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น
    • 6.4 เอกสารของทายาททุกคนของผู้เสียชีวิตที่รับค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น
    • 6.5 คำสั่งศาลให้บุคคลทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ (กรณีทายาทผู้เสียชีวิตเป็นผู้เยาว์)
    • 6.6 หนังสือรับรองยืนยันการเป็นทายาทของสถานทูต หรือสถานกงสุลพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย (กรณีเป็นทายาทของบุคคลที่เป็นคนต่างด้าว)
    • 6.7 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
    • 6.8 สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี

    กรณีเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง รับเงินได้ภายใน 15 สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
    กรณีเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง รับเงินได้ภายใน 7 วัน สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

  7. 7. การพิจารณาและชดใช้สินไหมรถยนต์ กรณีค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ และค่าเสื่อมราคารถยนต์
    ให้ใช้เอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
    • 7.1 ต้นฉบับหรือสำเนาใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)
    • 7.2 สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ
    • 7.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ
    • 7.4 หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถยนต์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
    • 7.5 หลักฐานที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ หรือค่าเสื่อมราคารถ เช่น สำเนาใบนำรถเข้าซ่อม/ใบรับรถ รายการอะไหล่ที่ใช้ในการจัดซ่อม สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าซ่อม (ถ้ามี)

    กรณีเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง รับเงินได้ภายใน 15

ค่าเสียหายส่วนแรกคืออะไร?

ค่าเสียหายส่วนแรกมี 2 แบบ คือ
1. ค่าเสียหายส่วนแรกที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ (Deductible)
2. ค่าเสียหายส่วนแรกเมื่อมีการเคลมที่เข้าเงื่อนไข (Excess)

ค่าเสียหายส่วนแรกที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ (Deductible)
เป็นการตกลงยินยอมจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกของค่าเสียหายทั้งหมด ตามความสมัครใจของลูกค้า เพื่อให้ได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกัน เหมาะสำหรับลูกค้าที่มั่นใจว่าขับรถอย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท การขอรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกไว้เองนี้ จะรับผิดชอบเฉพาะความเสียหายอันเกิดจากความประมาทของผู้ใช้รถหรือผู้ถือกรมธรรม์เท่านั้น  เช่น ถ้าลูกค้าเลือกที่จะรับค่าเสียหายส่วนแรกไว้เองครั้งละ 5,000 บาท เมื่อมีอุบัติเหตุและมีการเคลมเกิดขึ้น โดยลูกค้าเป็นฝ่ายผิด หรือเป็นฝ่ายถูก แต่ไม่รู้ตัวผู้ต้องรับผิดตามกฎหมาย ลูกค้าต้องจ่ายค่าเสียหาย 5,000 บาท หากค่าซ่อมเกิน 5,000 บาท ทางบริษัทฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนเกินนั้นเอง แต่หากเป็นอุบัติเหตุที่ลูกค้าเป็นฝ่ายถูก และรู้ตัวผู้ต้องรับผิดตามกฎหมาย ลูกค้าไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 5,000 บาท บริษัทฯ จะรับผิดชอบซ่อมรถลูกค้าตามความเสียหายที่เกิดขึ้น

ค่าเสียหายส่วนแรกเมื่อมีการเคลมที่เข้าเงื่อนไข (Excess)
เป็นค่าเสียหายที่ผู้ใช้รถหรือผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทฯ เป็นจำนวน 1,000 บาท กรณีที่การเคลมเข้าเงื่อนไขตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 ตัวอย่างเช่น
1. รถเสียหาย ไม่ได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ ได้แก่
- ความเสียหายจากการมุ่งร้าย ถูกกลั่นแกล้ง เช่น รถถูกคนอื่นทุบทำลาย ขูดขีดเสียหายโดยไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำ วันเวลา และสถานที่ที่รถได้รับความเสียหายได้ชัดเจน
- ความเสียหายจากการกระทบกับสิ่งของ ทำให้รถได้รับความเสียหายเฉพาะพื้นผิวของสีรถ โดยไม่ทำให้ตัวรถได้รับความเสียหายถึงขนาดบุบ แตกร้าว
- ไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้รถเสียหายได้ชัดเจน ไม่สามารถระบุวันเวลาและสถานที่ ที่รถได้รับความเสียหายได้ชัดเจน
ซึ่งกรณีนี้ไม่รวมถึงความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทำให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวรถนอกจากสีรถเสียหายด้วย เช่น ความเสียหายจากภัยน้ำท่วม ลมพายุพัดต้นไม้หรือกิ่งไม้หักมาทับรถ เป็นต้น

2. รถยนต์คันที่เอาประกันภัยถูกรถคันอื่นเฉี่ยวชน หรือไปเฉี่ยวชนรถคันอื่นได้รับความเสียหาย และผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งให้บริษัทฯ ทราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่กรณีรถยนต์ชนกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ เช่น รั้ว ต้นไม้ สัตว์ ก้อนหิน ฯลฯ ทำให้ตัวรถและหรืออุปกรณ์ได้รับความเสียหาย บุบ แตก ร้าว ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก แต่ต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบถึงลักษณะการเกิดเหตุ วันเวลา และสถานที่อย่างชัดเจน  การคิดค่าส่วนแรกตามเงื่อนไขนี้ จะคิดตามเหตุการณ์ หากเสียหายมากกว่า 1 ชิ้น ค่าเสียหายส่วนแรกที่ต้องจ่ายคือ 1,000 บาทเท่านั้น

เมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่มีฝ่ายใดยอมรับผิด จะทำอย่างไร?

กรณีไม่มีฝ่ายใดยอมรับผิด
1. อย่านำรถออกจากจุดเกิดเหตุ (นอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้สั่ง)
2. จดทะเบียนรถ ชื่อ ที่อยู่ ของคู่กรณี
3. จดชื่อ ที่อยู่ ของพยานในที่เกิดเหตุ (ถ้ามี)
4. เมื่อเจ้าหน้าที่สำรวจภัยเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ และปฏิบัติงานเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่สำรวจจะออกใบเคลมให้ (ใบรายการความเสียหาย)
5. ผู้เอาประกันสามารถนำใบเคลมติดต่อซ่อมรถได้ที่อู่ซ่อมมาตรฐานของบริษัทฯ กว่า 400 อู่ทั่วประเทศ

เมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ แล้วเราเป็นฝ่ายผิด จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?

กรณีรถของผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
1. หากคุณยอมรับผิด สามารถนำรถเข้าข้างทาง เพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
2. ไม่ควรเซ็นเอกสารใดๆ ให้คู่กรณี รอจนกว่าเจ้าหน้าที่บริษัทจะไปถึง และให้คำแนะนำ
3. เมื่อเจ้าหน้าที่สำรวจภัยเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ และปฏิบัติงานเสร็จสิ้น จะออกใบเคลมให้ (ใบรายการความเสียหาย)
4. ผู้เอาประกันสามารถนำใบเคลมติดต่อซ่อมรถได้ที่อู่ซ่อมมาตรฐานของบริษัทฯ กว่า 400 อู่ทั่วประเทศ

หมายเหตุ : หากเรื่องถึงสถานีตำรวจ และพนักงานสอบสวนมีความเห็นว่า ผู้เอาประกันมีความผิดขับรถโดยประมาทฯ บริษัทฯ จะรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่งโดยเจรจากับผู้เสียหายแทนคุณ และประกันตัว หากพนักงานสอบสวนแจ้งมา

เมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ และเป็นฝ่ายถูก ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

กรณีรถของผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูก
1. จดทะเบียนรถ ชื่อ ที่อยู่ ของคู่กรณี
2. จดชื่อ ที่อยู่ ของพยานในที่เกิดเหตุ (ถ้ามี)
3. หากคู่กรณียอมรับผิด ให้คู่กรณีทำบันทึกยอมรับผิดสั้นๆ แล้วแยกเข้าข้างทาง รอเจ้าหน้าที่สำรวจภัย
4. หากคู่กรณีไม่ยอมรับผิด ห้ามแยกจากจุดเกิดเหตุ รอจนกว่าเจ้าหน้าที่สำรวจภัยจะไปถึง หรือจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมาทำแผนที่เกิดเหตุ
5. ห้ามรับข้อเสนอชดใช้ใดๆ จากคู่กรณี หากไม่ได้หารือกับเจ้าหน้าที่บริษัทฯ ก่อน
6. เมื่อเจ้าหน้าที่สำรวจภัยเดินทางถึงที่เกิดเหตุ และปฏิบัติงานเสร็จ จะออกใบเคลมให้ (ใบรายการความเสียหาย)
7. ผู้เอาประกันสามารถนำใบเคลมติดต่อซ่อมรถได้ที่อู่ซ่อมมาตรฐานของบริษัทฯ กว่า 400 อู่ทั่วประเทศ

หมายเหตุ : กรณีเป็นประกันภัยประเภท 2, 3 (คุ้มครองเฉพาะความเสียหายของบุคคลภายนอก) บริษัทฯ อาจส่งเจ้าหน้าที่ไปบริการ ส่วนการติดตามและเรียกร้องค่าเสียหาย ผู้เอาประกันจะต้องดำเนินการเอง

การเคลมต้องสำรองจ่ายก่อนหรือไม่

หากลูกค้ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลคู่สัญญา ไม่ต้องสำรองจ่าย 

เอกสารที่ใช้ในการเรียกร้องสินไหม

ลูกค้าต้องมีแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม /สำเนาบัตรประชาชน / ใบเสร็จรับเงิน (ต้นฉบับ) / ใบรับรองแพทย์ (ต้นฉบับ) /สำเนาเลขที่บัญชีฯ

บริษัทพิจารณาจ่ายเคลมกี่วัน

ภายใน 15 วัน หลังจากที่ได้รับเอกสารการเคลมครบถ้วนสมบูรณ์

เรียกร้องค่าชดเชยรายวัน

กรณีที่พักรักษาอาการที่โรงพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ จะได้รับค่าชดเชยรายวันตามที่ระบุหน้าตารางกรมธรรม์ 

ถ้าทำใบเคลมหายต้องทำอย่างไร

ลูกค้าจะต้องไปแจ้งความที่สน. ที่เกิดเหตุและนำใบแจ้งความติดต่อบริษัท 

ใบเคลมมีอายุกี่ปี

มีอายุ 1 ปี 

ขอเปลี่ยนอู่ซ่อมรถ

ลูกค้าสามารถเปลี่ยนอู่ซ่อมได้ ถ้าหากยังไม่ได้ดำเนินการซ่อม แต่ถ้าหากว่าซ่อมแล้ว อู่ซ่อมให้ไม่เรียบร้อย ลูกค้าจะต้องแจ้งมายังบริษัท 

เพื่อให้อู่เดิมแก้ไขงานซ่อมต่อไป 


ประกันภัยประเภท 1 ต้องจ่ายค่า Excess หรือไม่

ค่า Excess จะเรียกเก็บต่อเมื่อเป็นฝ่ายผิด / ไม่สามารถระบุทะเบียนรถคู่กรณีได้ / การเคลมสีรอบคัน 

ประกันภัยประเภท 1 ต่อประกันทุกปี แต่ไม่เปลี่ยนอะไหล่แท้

ในกรณีนี้หากอายุรถเกิน 3 ปี และไม่ใช่อะไหล่ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย จะเปลี่ยนเป็นอะไหล่เทียบเคียง 

รถเกิดเหตุ ติดต่อแจ้งเคลมอย่างไร

ลูกค้าสามารถติดต่อ 1484 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

แจ้งอุบัติเหตุ

ลูกค้าสามารถติดต่อแจ้งเหตุได้ที่ 1484 ตลอด 24 ชม.

หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าขาดประโยชน์

เกณฑ์การพิจารณาจะขึ้นอยู่กับประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ 

เจ้าหน้าที่สำรวจภัยต้องเดินทางถึงที่เกิดเหตุภายในระยะเวลากี่ชั่วโมง

หากลูกค้าเกิดเหตุภายในกรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่จะถึงภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที ส่วนในต่างจังหวัด จะใช้เวลาโดยประมาณ 45 นาที - 1 ชั่วโมง (แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร ณ เวลานั้น และจะต้องขึ้นอยู่กับความถูกต้องของการแจ้งสถานที่เกิดเหตุ) 

มีแผลก่อนทำประกันภัย จะเคลมได้หรือไม่

ลูกค้าจะต้อง Remark แผลเดิมก่อนทำประกัน หรือต้องจัดซ่อมให้เรียบร้อยก่อน 

เอกสารที่ใช้เรียกร้องค่าขาดประโยชน์

เอกสารที่ต้องใช้ในการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ 

1.สำเนาทะเบียนรถ 

2.สำเนาบัตรประชาชน 

3.ใบรับรถ 

4.หนังสือชี้แจ้งรายละเอียดการเรียกร้อง 

5.สำเนาเลขที่บัญชี


เบี้ยซ่อมอู่ เข้าซ่อมห้างได้หรือไม่

ซ่อมได้ โดยต้องรับผิดชอบจ่ายค่าซ่อมส่วนต่างๆเอง 

พนักงานไม่ออกใบเคลม ให้ต้องทำอย่างไร

ลูกค้าสามารถติดต่อ 1484 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง